Table of Contents
Text Editor
[toc] [wiki]Text editor เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการแก้ไขข้อความ (edit text) ซึ่ง text editor แต่ละตัวจะมีความสามารถเพิ่มเติมที่อาจจะแตกต่างกันไป เช่น Syntax Highlighting
การเขียนโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เป็นการ edit text ให้อยู่ใน syntax ของภาษานั้น ๆ แล้วไฟล์นั้นจะถูกอ่านด้วยโปรแกรมเช่น compiler หรือ interpreter เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
การเขียนเว็บไซต์อย่างง่าย คือการ edit text ให้อยู่ใน syntax ของภาษา HTML แล้วนำไฟล์นั้นไปให้ browser อ่าน
ตัวอย่างโปรแกรม text editor คือ
Browser Developer Tools
[toc]Browser ส่วนมากจะมี developer tool ให้ใช้ เช่น Chrome สามารถคลิกขวาบนเว็บไซต์แล้วเลือก Inspect ได้
ซึ่งจะมี tabs ที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น
- Elements: ไว้ดู html และลองปรับ css ในด้านล่างดูได้
- Console: ไว้ดู log หรือรัน JavaScript เพิ่มเติม
- Sources: ไว้ดูไฟล์ต่าง ๆ บนเว็บไซต์นั้น ๆ เช่น ไฟล์ css
- Network: ไว้ดูการใช้งาน network ของหน้านั้น เช่น การโหลดไฟล์
Modern Website
[toc]เว็บไซต์สมัยใหม่จะประกอบไปด้วยไฟล์สามประเภทหลัก ๆ คือ
- HTML: ทำหน้าที่ระบุเนื้อหา
- CSS: จัดสไตล์ความสวยงาม
- JavaScript: ไว้สำหรับควบคุมพฤติกรรมในหน้าเว็บไซต์
HTML (HyperText Markup Language)
เป็นภาษา markup ที่เอาไว้กำหนดโครงสร้างและหมายความของเนื้อหาบทเว็บไซต์ เช่น การกำหนดข้อความในแต่ละพารากราฟ หัวข้อ ตารางข้อมูล หรือการใส่วิดีโอ รูปภาพ ในหน้า ๆ หนึ่ง
ลักษณะของภาษา HTML จะเป็นดังรูป คือ ประกอบไปด้วย
- Opening tag: เป็น tag เปิดเพื่อกำหนดโครงสร้าง
- Content: เป็นเนื้อหา
- Closing tag: เป็น tag ปิดคู่กันเพื่อช่วยกำหนดโครงสร้าง
ทั้งหมดจะถูกเรียกโดยรวมว่าเป็น element ซึ่งใน element สามารถระบุ attribute เพิ่มได้ดังรูป
ตัวอย่างนี้ (สามารถคลิกขวาแล้ว Save link as เพื่อดูไฟล์ได้) มีโครงสร้าง tags เบื้องต้นดังต่อไปนี้
- โหลดไฟล์ตัวอย่าง แล้วเปิดด้วย text editor และ browser พร้อม ๆ กัน
- ลอง edit text แล้ว save และ refresh browser
Header
Section 1
- list item 1
- list item 2
Section 2
paragraph
paragraph link
- html: ไว้ระบุว่าเป็นโครงสร้างของภาษา html
- head: ไว้กำหนดส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ในหน้าที่ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็น
- meta: ไว้กำหนด specification สำหรับบราวเซอร์
- title: ไว้กำหนด title ที่จะแสดงบนชื่อแท็บบราวเซอร์
- body: ไว้กำหนดส่วนของข้อมูลหลัก
- header: เป็นส่วนหัวของข้อมูลหลัก
- article: เป็นส่วนที่มีเนื้อหา
- section: ใช้จัดระเบียบเนื้อหา
- h1, h2, ..., h6: หัวข้อในระดับต่าง ๆ
- ul, li: ลิสต์แบบ unordered
- p: พารากราฟ
- footer: กำหนดส่วนท้ายของข้อมูลหลัก
สามารถศึกษาเกี่ยวกับ HTML เพิ่มเติมได้ที่ What is HTML?
CSS (Cascading Style Sheets)
เป็นภาษาที่ใช้กำหนดกฏในการแต่งสไตล์ต่าง ๆ ให้กับเนื้อหา HTML เช่น การกำหนดสีพื้นหลัง ฟ้อนท์ หรือการแบ่งเนื้อหาในอยู่ในแนวหลายคอลัมน์
ลักษณะของภาษา CSS จะเป็นดังรูป คือ ประกอบไปด้วย
- Selector: ใช้ "เลือก" element ที่ต้องการจะตกแต่ง CSS selectors
- Property: เป็นส่วนที่จะตกแต่ง
- Property value: เป็นค่าที่ใช้ในการตกแต่ง
สามารถลองลบ css บนเว็บไซต์ได้ใน (Inspect > Sources > static)
ศึกษาเกี่ยวกับ CSS เพิ่มเติมได้ที่ What is CSS?
JavaScript
เป็นภาษาที่ใช้ในการทำ script ซึ่งจะทำให้สร้างเนื้อหาที่มีการอัพเดตแบบ dynamic ควบคุมการเล่นไฟล์ ทำอนิเมชัน และอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ศึกษาเกี่ยวกับ JavaScript ได้ที่ What is JavaScript?
สามารถลองทดสอบ block JavaScript บนเว็บต่าง ๆ เช่น YouTube (ตัวอย่าง) ดูได้
Figma to HTML
[toc]steps
- เตรียม design ที่พร้อมใช้งาน เช่น Example Portfolio Figma
-
สร้าง html file พร้อมตั้งชื่อ เช่น
portfolio.html
แล้วใส่เนื้อหากับโครงสร้าง tags ต่าง ๆ ให้ครบที่สุด -
สร้าง css file พร้อมตั้งชื่อ เช่น
styles.css
เพื่อลองตกแต่ง โดยเชื่อมเข้า html ดังนี้- นำไฟล์ไว้ที่โฟลเดอร์เดียวกัน
-
ใน
portfolio.html
เพิ่ม<link href="styles.css" rel="stylesheet" />
ภายใน tag<head>
แล้ว save file -
ใน
styles.css
ลองเพิ่ม style rule เช่นp { color: green; } แล้ว save file - ลอง refresh หน้า browser